ปัสสาวะเล็ด ปัญหาไม่เล็กของใครหลายคน

ปัสสาวะเล็ด เป็นอาการที่กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ พบได้บ่อยในผู้หญิง คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าปัญหาปัสสาวะเล็ดมักเกิดในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่เคยคลอดลูกเท่านั้น  แท้จริงแล้วปัสสาวะเล็ดเกิดขึ้นได้ตั้งแต่คนที่อายุ 35 ปีขึ้นไป มีสาเหตุมาจากอาการเหล่านี้

  • พบในคนอายุ 35 ปีขึ้นไป เกิดจากความอ่อนแอของอุ้งเชิงกราน ปัญหานิ่ว หรือเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะจึงควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง 
  • พบในผู้สูงอายุ เกิดจากกล้ามเนื้อหุ้นเชิงกรานหย่อนฮอร์โมนเพศลดลง กล้ามเนื้อหูรูดอ่อนแรงลง หรือมีภาวะป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย 

 

ชนิดของภาวะปัสสาวะเล็ด แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ 3 กลุ่มดังนี้

 

1. ปัสสาวะเล็ดจากการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง (Stress Urinary Incontinence) ภาวะปัสสาวะเล็ดเกิดขึ้น เมื่อมีการไอ จาม หัวเราะ การยกของหนัก หรือการเบ่งถ่ายอุจจาระ สาเหตุภาวะนี้มักเกิดจากการปิดของหูรูดของท่อปัสสาวะ (Sphincter Muscle) ไม่ดี จากอายุที่เพิ่มขึ้น หรือหลังคลอดบุตร

2. ปัสสาวะราด (Urge Urinary Incontinence) เป็นอาการที่มีอาการปวดปัสสาวะนำมาก่อน แล้วค่อยมีปัสสาวะราด ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ทำให้นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ สาเหตุมักเกิดจากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากกว่าปกติ หรือสัญญาณที่ส่งมายับยั้งรีเฟล็กซ์การขับถ่ายปัสสาวะมีปริมาณน้อยลง

3. ปัสสาวะไหลรินออกมาตลอดเวลา โดยไม่รู้ตัว ไม่มีอาการปวดปัสสาวะ (Overflow Urinary Incontinence) เกิดจากการทำงานของระบบประสาทที่ควบคุมการบีบรัดกระเพาะปัสสาวะเสียไป ทำให้มีปัสสาวะตกค้างในกระเพาะปัสสาวะจำนวนมาก ปัสสาวะจึงล้น และไหลออกมาเองพบในผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุบริเวณไขสันหลัง

 

การรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด มี 2 วิธี ที่จะช่วยประคับประคอง ให้สามารถกลั้นปัสสาวะได้ดีขึ้น ได้แก่

 

  • การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน โดยการฝึกขมิบช่องคลอด (Kegel Exercise) โดยขมิบค้างไว้ครั้งละ 5 วินาที 30 ครั้ง อย่างน้อยวันละ 3 รอบ ใช้เวลา 3 – 6 เดือน จึงจะเริ่มเห็นผล หากหยุดฝึกอาการอาจจะกลับมาเป็นซ้ำ ผลการรักษาวิธีนี้ ได้ผลประมาณ ร้อยละ 30 – 40 ส่วนใหญ่จะยังมีอาการอยู่

  • การรักษาโดยใช้เครื่องกระตุ้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (PMS) การรักษาวิธีนี้เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่เจ็บตัว ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องใช้ยา การทำงานของเครื่องจะใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นลงไปยังเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงบริเวณกระเพาะปัสสาวะ และกล้ามเนื้อที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปัสสาวะ เพื่อปรับโครงข่ายการทำงานของเส้นประสาทใหม่ เพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อหูรูด กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และกล้ามเนื้อหน้าท้อง

 

การรักษาด้วยเครื่อง PMS แพทย์จะนัดประมาณสัปดาห์ละ 3 ครั้ง  หลังการรักษาครั้งที่ 3 ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าสามารถกลั้นปัสสาวะได้มากขึ้น และการขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานทำได้ดีขึ้น แต่ไม่ดื่มน้ำมากเกินไปก่อนนอน ไม่กลั้นปัสสาวะบ่อย ๆ หรือนานเกินไป ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานในคุณแม่หลังคลอด

 

การแบ่งประเภทของภาวะปัสสาวะเล็ด

 

1. ปัสสาวะเล็ดขณะออกแรง (stress incontinence)

2. ปัสสาวะเล็ดทันทีเมื่อปวดปัสสาวะ (urgency incontinence)

3. ปัสสาวะเล็ดทั้งขณะออกแรง และทันทีเมื่อปวดปัสสาวะ (mixed incontinence)

4. ปัสสาวะเล็ดตลอดเวลาเนื่องจากมีปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะ (overflow incontinece)

 

การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน  (pelvic floor muscle exercise : kegel exercise) เป็นการช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อพื้นอุ้งเชิงกรานซึ่งเป็นตัวช่วยพยุงท่อปัสสาวะ ช่วยกดกล้ามเนื้อดีทรูเซอร์ (detrusor muscle) ทำให้ลดการหดตัวของกล้ามเนื้อดีทรูเซอร์ ลดอาการปัสสาวะเล็ดได้ วิธีการบริหาร คือขมิบช่องคลอดค้างไว้นาน 8-12 วินาที 8-12 ครั้ง ทำ 3 รอบต่อวัน อย่างน้อย 15-20 สัปดาห์ สำหรับการประเมินว่าผู้ป่วยทำได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ประเมินได้จากการตรวจภายใน

 

การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีการศึกษาพบว่าผลการรักษาเป็นที่น่าพึงใจของผู้ป่วย (จากแบบสอบถาม) หากทำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ นาน 2 – 4 สัปดาห์ภาวะไอ จาม และปัสสาวะเล็ดโดยไม่ตั้งใจ และไม่สามารถควบคุมได้นั้น เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในสตรีทั่วไปและมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต  สาเหตุมาจากกล้ามเนื้อหูรูดท่อปัสสาวะเสื่อมประสิทธิภาพ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะนี้ ได้แก่

 

  • อายุในสตรีที่อายุมากขึ้นจะพบอุบัติการณ์ของภาวะนี้ได้มากขึ้น

  • การตั้งครรภ์ในขณะตั้งครรภ์จะพบภาวะปัสสาวะเล็ดได้ในบางราย แต่เป็นการเกิดชั่วคราวและอาจจะหายได้หลังจากคลอดบุตรแล้ว

  • การคลอดบุตรมักพบในรายที่ทารกคลอดผ่านช่องคลอดและสัมพันธ์กับระยะเวลาคลอดโดยเฉพาะถ้าทารกที่มีน้ำหนักแรกคลอดมาก  

  • จำนวนบุตรที่มากขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นตามลำดับ    

  • ภาวะที่เพิ่มความดันในช่องท้องได้แก่ ความอ้วน ไอ จาม หอบเรื้อรัง  ท้องผูก  ยกของหนักเป็นประจำ

 

ในเบื้องต้นแพทย์จะวินิจฉัย โดยการซักประวัติและตรวจร่างกายหรือตรวจภายในหรือส่งตรวจพิเศษเพื่อยืนยันว่ามีภาวะนี้จริงแล้วจึงทำการรักษา  ซึ่งการรักษามีตั้งแต่

 

1. การปรับพฤติกรรมเช่น การลดน้ำหนักรักษาอาการไอจามเรื้อรัง  แก้ไขภาวะท้องผูก

2. โดยการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานด้วยการขมิบช่องคลอดซึ่งสามารถทำได้ในทุกอริยาบถ โดยการขมิบที่ถูกต้องต้องขมิบเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานเท่านั้น  คล้ายกับเวลากลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะ โดยไม่เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องหรือต้นขาร่วมด้วย ขมิบแต่ละครั้งทำค้างไว้ 10 - 20 วินาที แล้วคลายออกในเวลาเท่ากัน แล้วจึงเริ่มขมิบใหม่  สามารถทำได้บ่อยเท่าที่ต้องการ  โดยระยะแรกอาจทำเพียงน้อยครั้งแล้วจึงเพิ่มขึ้นทั้งระยะเวลาและความถี่เมื่อชำนาญมากขึ้น    อย่างไรก็ตามหากท่านไม่แน่ใจว่าจะขมิบได้ถูกต้องหรือไม่ สามารถปรึกษาแพทย์ได้ 

3. การใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้หดรัดตัว ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเกร็งกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานด้วยตนเองได้หรือทำได้ไม่ถูกวิธีวิธีนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องมือเฉพาะซึ่งการรักษาทั้ง 3  วิธีเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง อาการจะดีขึ้นภายใน 3 - 6 เดือน แต่ถ้ารักษาแล้วอาการ PMS เป็นเครื่องมือที่ใช้รักษาอาการปวด โดยใช้วิธีการกระตุ้นระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic) ซึ่งสามารถกระตุ้นผ่านเสื้อผ้าได้โดยไม่ต้องสัมผัสผิว คลื่นลงได้ลึกถึง 10 เซนติเมตร ไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรอบ ๆ คลื่นจาก PMS จะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไปกระตุ้นที่เส้นประสาทโดยตรง 

 

สนามแม่เหล็กที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาจะเหนี่ยวนำให้เกิดกิจกรรมทางไฟฟ้าที่ทำให้เส้นประสาทเกิดการดีโพลาไรซ์และทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหดตัว การกระตุ้นซ้ำๆ ของเส้นใยประสาทสั่งการส่วนปลายและแผ่นปลายประสาทสั่งการส่วนปลายจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ ข้อดีของมันคือสนามแม่เหล็กสามารถทะลุผ่านเนื้อเยื่อของร่างกายได้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและยังผ่านเสื้อผ้าได้โดยไม่มีการหยุดชะงัก และผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องถอดเสื้อผ้าเพิ่มโทนของหูรูดท่อปัสสาวะ 

 

ปัญหาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เนื่องจากความเครียด (SUI) หมายถึง การรั่วไหลของปัสสาวะโดยไม่ได้ตั้งใจขณะออกแรง ไอ หรือจาม ซึ่งโดยทั่วไปจะเกิดขึ้นเมื่อแรงดันภายในช่องท้องเกินกว่าแรงดันในการปิดท่อปัสสาวะ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เนื่องมาจากความเสียหายต่อส่วนรองรับของท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะอันเนื่องมาจากการคลอดทางช่องคลอด ทำให้ท่อปัสสาวะได้รับการรองรับไม่เพียงพอ นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบของคอลลาเจนของพังผืดเอนโดเปิลวิกและการบกพร่องของหูรูดท่อปัสสาวะ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการลดลงของเอสโตรเจนในวัยหมดประจำเดือน อาจทำให้แรงดันในการปิดท่อปัสสาวะลดลง นอกจากนี้ ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เนื่องจากความเครียดอาจเกิดขึ้นหรือคงอยู่ต่อไปอันเป็นผลจากการผ่าตัดพื้นเชิงกราน ทั่วโลก คาดว่า SUI ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงมากถึง 50% ในประเทศที่พัฒนาแล้ว และมีความเสี่ยงตลอดชีวิตที่จะต้องผ่าตัดประมาณ 4% ยิ่งไปกว่านั้น ภาวะนี้ยังส่งผลเสียต่อความเป็นอยู่ทางสังคม อาชีพ ในบ้าน และทางจิตและกาย 

 

การประเมินก่อนให้การรักษา

 

ซักประวัติ

  • ระยะเวลาที่มีอาการ ผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน และความรุนแรงของโรค
  • ประวัติที่ช่วยแยกแยะอาการปัสสาวะเล็ดชนิดต่างๆ
  • ปัจจัยที่ทำให้อาการเป็นมากขึ้น
  • ประวัติเกี่ยวกับโรคเรื้อรังอื่นๆที่มีผลต่อสมดุลน้ำในร่างกายออก เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว (congestive heart failure) โรคเบาหวาน (diabetesmellitus) โรคไต (renal insufficiency) เป็นต้น
  • ประวัติการทานยาที่มีผลต่อปริมาณปัสสาวะ เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาต้านโรคซึมเศร้า ยารักษาโรคทางจิตเวช เป็นต้น
  • ประวัติการมีบุตรและวิธีการคลอด
  • ประวัติการผ่าตัดบริเวณอุ้งเชิงกราน

 

ตรวจร่างกาย

  • ประเมินภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน (pelvic organ prolapse)
  • ประเมินภาวะช่องคลอดตึง (vaginal turgor)
  • ประเมินเรื่องระบบประสาท
  • ประเมินการเล็ดของปัสสาวะขณะผู้ป่วยไอ (cough test)

 

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

  • ตรวจปัสสาวะเพื่อดูการติดเชื้อ

 

การตรวจเพิ่มเติมอื่น ๆ

  • การตรวจวัดปริมาณปัสสาวะที่ค้างในกระเพาะปัสสาวะหลังปัสสาวะเสร็จ (post-void residual urine) เพื่อแยกภาวะปัสสาวะเล็ดเนื่องจากปัสสาวะค้างปริมาณมาก (overflow incontinence)
  • ส่องกล้องเพื่อดูท่อปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะ (cystoscope) เพื่อดูลักษณะความผิดปกติทางกายวิภาคหรือการอักเสบภายใน
  • การตรวจปัสสาวะพลวัต (urodynamics) เพื่อ
    - ยืนยันภาวะปัสสาวะเล็ดจากการออกแรง (stress incontinence)
    - ประเมินการทำงานของท่อปัสสาวะ (urethral function)
    - ประเมินภาวะปัสสาวะเล็ดทันทีที่ปวดปัสสาวะที่อาจซ่อนอยู่ (urge incontinecne)
    - ประเมินความสามารถในการยืดหดของกระเพาะปัสสาวะ

 

สนับสนุนข้อมูลโดย: พญ.อุทัยวรรณ เล็กยิ่งยง แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู